เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
สัญญา ตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่
ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ตลอดคติ
แห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา ตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญา ตลอดคติ
แห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณ
ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า “เรา” “ของเรา” หรือ “มีเรา” ของ
ภิกษุนั้นไม่มี1 บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า เธอจงพิจารณา
เห็น คือ ประจักษ์แจ้ง แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
โลกโดยความว่าง รวมความว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
คำว่า โมฆราช ในคำว่า โมฆราช ...มีสติทุกเมื่อ เป็นคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ปัจฉิมวัย2
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ (1) ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ3 รวมความว่า โมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ
คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า สักกายทิฏฐิ 20 ตรัสเรียกว่า
อัตตานุทิฏฐิ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมองเห็นรูป โดยความเป็น
อัตตา เห็นอัตตาว่ามีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา.(แปล) 18/246/262
2 ดูรายละเอียดข้อ 10/77
3 ดูรายละเอียดข้อ 8/70-71

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :320 }