เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่
พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า “เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้
เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา
ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า “เวทนาของ
เราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา
นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้
สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น
สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจง
เป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
สังขารนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า “สังขารของเรา
จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขาร
เป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า
“สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า “วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในวิญญาณว่า “วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็น
อย่างนั้น”1

เชิงอรรถ :
1 วิ.ม. 4/21/17-18, สํ.ข. 17/59/55

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :311 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของพวกเธอ
ทั้งมิใช่ของคนอื่น กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่ง
เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทอย่างดีโดยแยบคาย
ในกายนั้นว่า
“เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอวิชชาสำรอก1ดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เชิงอรรถ :
1 สำรอก ในที่นี้หมายถึง วิราคะคือนิพพาน แปลว่า เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะก็ได้
(วิ.ม.(แปล) 4/1-3/2-6)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :312 }