เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย คือ จักษุแลต้องแตกสลาย รูปต้องแตกสลาย จักขุ
วิญญาณต้องแตกสลาย จักขุสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ต้องแตกสลาย โสตะต้องแตกสลาย เสียงต้องแตกสลาย ฆานะต้องแตกสลาย
กลิ่นต้องแตกสลาย ชิวหาต้องแตกสลาย รสต้องแตกสลาย กายต้องแตกสลาย
โผฏฐัพพะต้องแตกสลาย มโนต้องแตกสลาย ธรรมารมณ์ต้องแตกสลาย มโน-
วิญญาณต้องแตกสลาย มโนสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ต้องแตกสลาย ภิกษุ
ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย เป็นอย่างนี้”1
คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่าด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
1. ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
2. ด้วยการพิจารณาเห็นสังขารเป็นของว่างเปล่า
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่
เป็นไปตามอำนาจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมไม่ได้อำนาจในรูป อำนาจในเวทนา อำนาจในสัญญา
อำนาจในสังขาร อำนาจในวิญญาณ
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูป
นี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า
“รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” ภิกษุทั้งหลาย ก็
เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
“รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. (แปล) 18/82/75

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :310 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 15. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่
พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า “เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้
เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา
ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า “เวทนาของ
เราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา
นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้
สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น
สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจง
เป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
สังขารนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า “สังขารของเรา
จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขาร
เป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า
“สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า “วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในวิญญาณว่า “วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็น
อย่างนั้น”1

เชิงอรรถ :
1 วิ.ม. 4/21/17-18, สํ.ข. 17/59/55

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :311 }