เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร1ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตน-
สมาบัติ อธิบายว่า กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสเรียก
ว่า เหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ว่าเป็นเหตุ
เกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งว่า เป็นเหตุเกาะติด เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน รวมความว่า
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ อธิบายว่า อรูป-
ราคะ ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
บุคคลนั้นรู้กรรมนั้นว่า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันด้วยอรูปราคะ คือ รู้ ทราบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลิน
เป็นเครื่องผูกไว้ คือ รู้ว่าเป็นเหตุเกาะติด เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้า
ด้วยกัน รวมความว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
คำว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว อธิบายว่า ครั้นรู้ คือ ครั้นทราบ เทียบ
เคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว รวมความว่า
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว
คำว่า ออกจากสมาบัตินั้น ในคำว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่
เกิดในสมาบัตินั้น อธิบายว่า บุคคลเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ออกจาก
อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ก็เห็นแจ้ง คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา
เห็นธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่เกิดในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รวมความว่า
ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น

เชิงอรรถ :
1 กัมมาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศล-
เจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายถึงภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ (ขุ.จู.อ. 84/69)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :296 }