เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ 7 ด้วยอำนาจปฏิสนธิอย่างนี้ รวมความ
ว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
คำว่า โปสาละ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่าพระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ

ว่าด้วยพระตถาคต
คำว่า รู้ยิ่ง ในคำว่า ตถาคตรู้ยิ่ง อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง คือ ทรงรู้
แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอดีต
เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์2เรื่อง
อดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต
ก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบ
ด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ถ้าแม้
เรื่องอนาคต ฯลฯ จุนทะ ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน
เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น
ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที3

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
2 พยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงการตอบปัญหา หรือการอธิบายปัญหาให้ชัดเจน
3 กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาที่เหมาะ (ขุ.จู.อ. 83/64)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :291 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ภูตวาที1 อัตถวาที2 ธัมมวาที3 วินยวาที4ในธรรม ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต5
จุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว
ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วยใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้ยิ่งเองแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด และตถาคตย่อม
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ตถาคตย่อมกล่าว เล่า ชี้แจง
เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ตถาคต
ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ตถาคต
จุนทะ ตถาคตทรงยิ่งใหญ่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็น
โดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต6 รวมความว่า
ตถาคตรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. 83/64)
2 อัตถวาที หมายถึงตรัสถึงปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. 83/64)
3 ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. 83/64)
4 วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยมีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. 83/64)
5 ที.ปา. 11/188/117
6 ที.ปา. 11/187-188/116-117

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :292 }