เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[82] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร (2)
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า
รูปสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ความจำได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
หรือถือกำเนิด(ในรูปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า
รูปสัญญา
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ 4 ไม่มีรูปสัญญา คือ
ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา
คำว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด
บุคลลนั้นละได้แล้ว คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน1 (และ)
ด้วยวิกขัมภนปหาน2 รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
คำว่า ไม่มีอะไร ในคำว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มี
อะไร อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร

เชิงอรรถ :
1 ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้น ๆ คือ การละรูปกายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (ขุ.จู.อ. 82/56)
2 วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน (ขุ.จู.อ. 82/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :287 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คือ บุคคลผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติใด ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว
ไม่ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถ
ว่าอะไร น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี รวมความว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า
ไม่มีอะไร
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์
ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะ พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ ฯลฯ ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว
หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ คือ ทูลถามถึงปัญญา ทูลถามถึงความรู้ชัดของ
บุคคลนั้นว่า ญาณเป็นอย่างไร มีสัณฐานอย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ
อะไร บุคคลนั้นพึงปรารถนา รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอ
ทูลถามถึงญาณ
คำว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร อธิบายว่า บุคคลนั้นควร
แนะนำ ควรแนะนำไปโดยวิเศษ ตามแนะนำ แนะนำให้รู้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ให้ผู้อื่นรู้จัก
ประโยชน์ ให้เพ่งพินิจ ให้พิจารณา ให้เลื่อมใสอย่างไร ได้แก่ ควรให้เกิดญาณยิ่ง ๆ
ขึ้นไปแก่เขาอย่างไร
คำว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น
ผู้ดำรงอยู่อย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น ได้แก่ ผู้ได้อากิญจัญญา-
ยตนสมาบัติ รวมความว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :288 }