เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ตัณหานั้นเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ
เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะ
นินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ความลังเลตรัสเรียกว่า ความสงสัย
ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจ ความ
สงสัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละ คือ ตัด ตัดขาด ตัดขาดพร้อม ให้เข้าไป
สงบ สลัดทิ้ง ระงับ ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า
จึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความ
สงสัยได้แล้ว
คำว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญ
ภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความรู้
ยิ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตายและภพใหม่ก็
ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์
ต้องการถามปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ ข้อนี้จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
(ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้)
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[82] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร (2)
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า
รูปสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ความจำได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
หรือถือกำเนิด(ในรูปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า
รูปสัญญา
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ 4 ไม่มีรูปสัญญา คือ
ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา
คำว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด
บุคลลนั้นละได้แล้ว คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน1 (และ)
ด้วยวิกขัมภนปหาน2 รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
คำว่า ไม่มีอะไร ในคำว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มี
อะไร อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร

เชิงอรรถ :
1 ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้น ๆ คือ การละรูปกายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (ขุ.จู.อ. 82/56)
2 วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน (ขุ.จู.อ. 82/56)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :287 }