เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก
ปรารภอดีตกาลยาวนาน ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น
ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอนาคตกาลยาวนาน ฯลฯ จุนทะ ญาณอันเกิดที่
ต้นโพธิ์ของตถาคต ปรารภปัจจุบันกาลยาวนาน เกิดขึ้นว่า ‘ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้
ภพใหม่ต่อไป ไม่มี”1
พระอินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณอันกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นกำลังของตถาคต พระอาสยานุสยญาณ (ความรู้จัก
ฉันทะที่มานอนและกิเลสที่นอนเนื่อง) ของเหล่าสัตว์ เป็นกำลังของตถาคต พระยมก-
ปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนำธรรมชาติคู่ตรงข้ามกันกลับมาแสดง) เป็นกำลัง
ของตถาคต พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ) เป็น
กำลังของตถาคต พระสัพพัญญุตญาณ เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณ
(ญาณที่หาเครื่องกางกั้นไม่ได้) เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณอันไม่มีอะไร
ข้อง ไม่มีอะไรขัดได้ในทุกแห่งหน เป็นกำลังของตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอดีตธรรม
บ้าง อนาคตธรรมบ้าง ปัจจุบันธรรมบ้าง ของพระองค์และชนเหล่าอื่นอย่างนี้ รวม
ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า โปสาละ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า เหตุให้หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ2

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/187/116
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :285 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 14. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ตัณหานั้นเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ
เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะ
นินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ความลังเลตรัสเรียกว่า ความสงสัย
ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจ ความ
สงสัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละ คือ ตัด ตัดขาด ตัดขาดพร้อม ให้เข้าไป
สงบ สลัดทิ้ง ระงับ ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า
จึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความ
สงสัยได้แล้ว
คำว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญ
ภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความรู้
ยิ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตายและภพใหม่ก็
ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์
ต้องการถามปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ ข้อนี้จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
(ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้)
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :286 }