เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ ไม่ยินดี
คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายใน พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายใน พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปภายใน พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปภายนอก พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นทั้ง
ภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมไปทั้งภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปทั้งภายในและ
ภายนอก สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติด
ใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาด้วยอาการ 42 อย่าง เหล่านี้อยู่ ไม่
ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง สัตว์โลกเห็นเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ไม่ยินดี คือ
ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่
มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป ก็ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :281 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี
คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาด้วยอาการ 42 อย่างเหล่านี้ อยู่ ไม่
ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้
ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น รวมความว่า สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
คำว่า มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า มีสติสัมปชัญญะ เที่ยวไป คือ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างนี้ รวมความว่า
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้
คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณที่สหรคตด้วยปุญญาภิสังขาร
วิญญาณที่สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วยอาเนญชาภิสังขาร
จึงดับไป คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณ
จึงดับสนิท ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงดับสนิท
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ อุทัยมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อุทยมาณวปัญหานิทเทสที่ 13 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :282 }