เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค อธิบายว่า พวก
ข้าพระองค์มาเฝ้า คือ เป็นผู้มาเฝ้าแล้ว มาเข้าเฝ้าแล้ว มาถึง ถึงพร้อมแล้ว
เป็นผู้มาถึงพร้อมกับพระองค์แล้ว เพื่อทูลถาม คือ ทูลปุจฉา ทูลขอ ทูลอัญเชิญ
ทูลให้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูล
ถามพระผู้มีพระภาค
คำว่า นั้น ในคำว่า ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ อธิบายว่า พวกข้า
พระองค์ขอฟัง คือ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง
เทศนา คำสั่งสอน คำที่พร่ำสอน รวมความว่า ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์
ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท
ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์
[80] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงดับสนิท (7)

ว่าด้วยเวทนา
คำว่า สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก อธิบายว่า สัตว์โลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง
ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง
ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี
คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :280 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ ไม่ยินดี
คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายใน พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายใน พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปภายใน พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปภายนอก พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นทั้ง
ภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมไปทั้งภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปทั้งภายในและ
ภายนอก สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติด
ใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาด้วยอาการ 42 อย่าง เหล่านี้อยู่ ไม่
ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง สัตว์โลกเห็นเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ไม่ยินดี คือ
ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่
มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป ก็ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :281 }