เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
8. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
9. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น
เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก 9 อย่าง ความตรึก 9 อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุสัญจร
เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลก คือ สัตว์โลกสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป
ด้วยความตรึก 9 อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์
โลกนั้น
คำว่า ตัณหา ในคำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่านิพพาน ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะละ คือ
เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับตัณหาได้ เราจึงเรียก คือ กล่าว พูด
บอก แสดง ชี้แจงว่า นิพพาน รวมความว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
[79] (ท่านอุทัยทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท
ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ (6)
คำว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร อธิบายว่า สัตว์โลกมีสติสัมปชัญญะ
เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร
รวมความว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร
คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณจึงดับ คือ เข้าไปสงบ
ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณจึงดับสนิท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :279 }