เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ความย่อท้อ ในคำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ อธิบายว่า
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่
ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่ท้อถอย ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ
ความเป็นผู้มีจิตย่อท้อ
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทา ได้แก่ เป็นเครื่องบรรเทา คือ เป็นเครื่องละ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความย่อท้อได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ

ว่าด้วยความคะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า
ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความ
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ฯลฯ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง
ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต เราทำ
แต่ปาณาติปาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เราทำแต่อทินนาทาน
ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความ
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :274 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ฯลฯ เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ฯลฯ เราทำแต่
ผรุสวาจาไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ฯลฯ เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำ
ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ฯลฯ เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ฯลฯ
เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท ฯลฯ เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ”
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิ
ได้รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 ฯลฯ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ฯลฯ
ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ฯลฯ ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ
ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ ไม่เจริญอิทธิบาท
4 ฯลฯ ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ฯลฯ ไม่เจริญพละ 5 ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ฯลฯ
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ฯลฯ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค
เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง”
คำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า เครื่องปิด เครื่องกั้น คือ
การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับความคะนองได้ เป็นอมตนิพพาน
รวมความว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องละความพอใจ
ในกามและโทมนัสทั้ง 2 อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :275 }