เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ในกามและโทมนัสทั้ง 2 อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง (2)
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความกระหายด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่
ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเป็น
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า อันเป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความพอใจในกามได้ เป็นอมตนิพพาน รวม
ความว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม
คำว่า อุทัย ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย
คำว่า โทมนัส ในคำว่า และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง อธิบายว่า ความไม่
แช่มชื่นทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อันไม่แช่มชื่นเกิดจาก
สัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่นเกิดจากสัมผัสทางใจ
คำว่า และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง
การระงับความพอใจในกามและโทมนัสทั้ง 2 อย่างได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :273 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 13. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ความย่อท้อ ในคำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ อธิบายว่า
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่
ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่ท้อถอย ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ
ความเป็นผู้มีจิตย่อท้อ
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทา ได้แก่ เป็นเครื่องบรรเทา คือ เป็นเครื่องละ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความย่อท้อได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ

ว่าด้วยความคะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า
ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความ
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ฯลฯ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง
ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต เราทำ
แต่ปาณาติปาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เราทำแต่อทินนาทาน
ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความ
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :274 }