เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เครื่องกังวล ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณไร ๆ
คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง
ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง
รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวล ในโลกทั้งปวง
คำว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า
ชนเหล่าใดยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ฯลฯ ได้แก่ ย่อมยึดถือ
เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ
ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง
เข้าด้วยกัน
คำว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ เพ่งพิจารณา แลเห็น มองเห็น เห็น มองดู
เพ่งพินิจ พิจารณา รวมความว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช เป็นชื่อของ
สัตว์
คำว่า บ่วงแห่งมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า
บ่วงแห่งมัจจุราช
หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช
คือ บ่วงแห่งมาร บ่วงแห่งมรณะ อธิบายว่า สิ่งของที่ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด
เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่เครื่องแขวนทำด้วยงาช้าง ฉันใด หมู่สัตว์
ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือบ่วงแห่งมาร
บ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้น รวมความว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :266 }