เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
เทวโลก ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนา
ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่าชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา
ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง รวมความว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ
และชั้นกลาง
คำว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก อธิบายว่า เพราะ
สัตว์ทั้งหลายยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใด ๆ
คำว่า ในโลก อธิบายว่า ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก1 รวมความว่า
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
คำว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล อธิบายว่า ขันธมาร
ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร
อันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตาม คือ ไปตาม เป็นผู้ติดตามไปด้วยอำนาจ
กัมมาภิสังขารนั้นนั่นเอง
คำว่า สัตว์ ได้แก่ ผู้ข้อง ชน นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะ
สิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 4/54

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :264 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล
[73] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง (4)
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด... ไม่พึงเข้าไป
ยึดถือ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุเมื่อมองเห็นโทษแห่งตัณหาเครื่องยึดมั่นนี้ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น
คำว่า เมื่อรู้ชัด อธิบายว่า รู้อยู่ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่
ได้แก่ รู้อยู่ รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ
ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นรูป ฯลฯ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่
พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด ... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวลในโลก
ทั้งปวง ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นเสขะ
คำว่า ควรเป็นผู้มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ (1) ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :265 }