เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้ามห้วงกิเลสได้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ทางแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว
ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มี การเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว
คำว่า หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากราคะ จิตของพระผู้พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโทสะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโมหะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
รวมความว่า ละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ... ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
อธิบายว่า
คำว่า การกำหนด ได้แก่ การกำหนด 2 อย่าง คือ (1) การกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา (2) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละการกำหนด
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ได้แก่ ทูลขอ ทูลอาราธนา คือ อัญเชิญ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย พอใจ มุ่งหวัง
คำว่า มีพระปัญญาดี อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา (ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :259 }