เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
[70] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้ (1)
คำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ในคำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย2และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
คำว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1108-1111/546
2 อุบาย ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ (ขุ.จู.อ. 70/46)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :257 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
ตัดขาดแล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าตัดตัณหาได้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า เหตุให้
หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะ
เป็นผู้ละตัณหาเหตุให้หวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มี-
พระภาค ไม่ทรงหวั่นไหว คือ ไม่ทรงสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะได้สุข เพราะทุกข์บ้าง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มี
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหว รวมความว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่
มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า ภัทราวุธ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ2 รวมความว่า
ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้
คำว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความเพลิดเพลินคือตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า
ละความเพลิดเพลินได้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51
2 ดูรายละเอียดข้อ 1/44

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :258 }