เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ อธิบายว่า อาสวะทั้งหลาย ที่
เป็นเหตุให้ไปสู่อำนาจแห่งมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจของมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจ
ของพรรคพวกมาร ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่มีปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น
ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า อันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
พราหมณ์ อาสวะทั้งหลาย
อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ไม่มีแก่บุคคลนั้น
ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ชตุกัณณิมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทสที่ 11 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :256 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
12. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
[70] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้ (1)
คำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ในคำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย2และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
คำว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1108-1111/546
2 อุบาย ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ (ขุ.จู.อ. 70/46)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :257 }