เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่า พราหมณ์... ผู้คลายความติดใจใน
นามรูปโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ
ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า โดยประการทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ
ไว้ทั้งหมด
คำว่า นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ 4
คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป 41 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 42 ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า พราหมณ์ ... ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า พราหมณ์ พระอรหันตขีณาสพ ผู้คลายความติดใจแล้ว คือ ผู้ปราศจาก
ความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว ปล่อยความติดใจแล้ว
ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจได้แล้ว รวมความว่า พราหมณ์ ... ผู้
คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
คำว่า อาสวะทั้งหลาย ในคำว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่
อาสวะ 4 อย่าง คือ
1. กามาสวะ
2. ภวาสวะ
3. ทิฏฐาสวะ
4. อวิชชาสวะ
คำว่า แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ไม่มี อธิบายว่า อาสวะเหล่านี้ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่
ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น

เชิงอรรถ :
1 มหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58
2 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ดูเชิงอรรถข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :255 }