เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
เสด็จไป ประทับอยู่ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ
ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป ฉันนั้น รวมความว่า เหมือน
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
คำว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วย
เถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์เป็นผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญา
น่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบ ส่วนพระองค์มีพระปัญญามาก คือ มีพระปัญญา
กว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มี
พระปัญญาเพิกถอนกิเลส
แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้าง
ขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ...
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรม ... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรม คือ พรหมจรรย์
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน 4 ฯลฯ นิพพาน
และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า
โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่อง
ละ คือ ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชรา
และมรณะในโลกนี้ คืออมตนิพพาน รวมความว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :250 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 11. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
[67] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ (3)
คำว่า ในกามทั้งหลาย ในคำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลาย
เสีย ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2) กิเลสกาม ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า ความติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย อธิบายว่า เธอจงกำจัด
คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดใน
กามทั้งหลาย รวมความว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตร
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ2 รวมความว่า พระผู้มีพระภาตตรัสตอบว่า
ชตุกัณณิ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :251 }