เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งนั้นอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า อธิบายว่า นี้เป็นที่พึ่ง ที่
ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง เป็นคติ เป็นจุดหมาย
คำว่า อันไม่มีที่พึ่งอื่น อธิบายว่า ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้น ไม่มี
โดยที่แท้ ธรรมนั้น เป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
อย่างนี้ รวมความว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
คำว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่อง
เสียบแทง) ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
การละวานะ การเข้าไปสงบวานะ การสลัดทิ้งวานะ การระงับวานะได้ เป็น
อมตนิพพาน
คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบท
หลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เรียก ได้แก่ พูด คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น
คำว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ
การสลัดทิ้ง การระงับชราและมรณะได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้น
ไปแห่งชราและมรณะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช
[64] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :242 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว อธิบายว่า อมตนิพพาน
คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ (1) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มี-
พระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม
คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม
คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำ
ให้ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับ
กิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้
ทำให้โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า
คำว่า มาร ได้แก่ มาร ผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย
ไม่ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่ไป
ตามอำนาจมาร ทั้งมารก็ไม่เป็นไปในอำนาจชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นข่มขี่ ครอบงำ
ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีมาร คือ ฝักฝ่ายแห่งมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :243 }