เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ อธิบายว่า เราจะบอก คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น
ที่พึ่ง คติ จุดหมาย
คำว่า กัปปะ ในคำว่า กัปปะ... แก่เธอ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ รวมความว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสตอบว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ
[63] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช (3)
คำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่น
ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล
คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต การละ
เครื่องกังวล การเข้าไปสงบเครื่องกังวล การสลัดทิ้งเครื่องกังวล การระงับเครื่อง
กังวลได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
คำว่า ไม่มีเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
การละเครื่องยึดมั่น การเข้าไปสงบเครื่องยึดมั่น การสลัดทิ้งเครื่องยึดมั่น
การระงับเครื่องยึดมั่นได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี
เครื่องยึดมั่น

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :241 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งนั้นอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า อธิบายว่า นี้เป็นที่พึ่ง ที่
ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง เป็นคติ เป็นจุดหมาย
คำว่า อันไม่มีที่พึ่งอื่น อธิบายว่า ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้น ไม่มี
โดยที่แท้ ธรรมนั้น เป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
อย่างนี้ รวมความว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
คำว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่อง
เสียบแทง) ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
การละวานะ การเข้าไปสงบวานะ การสลัดทิ้งวานะ การระงับวานะได้ เป็น
อมตนิพพาน
คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบท
หลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เรียก ได้แก่ พูด คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น
คำว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ
การสลัดทิ้ง การระงับชราและมรณะได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้น
ไปแห่งชราและมรณะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช
[64] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :242 }