เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่ระลึก คติ จุดหมาย รวมความว่า อนึ่ง ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่ข้าพระองค์
คำว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก อธิบายว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้พึงดับ คือ
พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้เอง คือ ทุกข์อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึง
บังเกิดอีก ได้แก่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ในกามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติใหม่ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
หรือวัฏฏะ คือ พึงดับ เข้าไปสงบ ถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้แหละ รวมความว่า
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก
[62] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ (2)
คำว่า ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า สระ คือ
การมา การไป การไปและการมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ อุปบัติ
ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ ที่สุด
เบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติด
แน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :239 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้อง
ปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้
เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว
ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า กัปปะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัปปะ เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กัปปะ
คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือ
กาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด
บังเกิดขึ้น ปรากฏ
คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ
คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่
ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :240 }