เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 10. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
เหล่าสัตว์เสวยทุกข์ เสวยความยากลำบาก เสวยความพินาศ เต็มป่าช้า1 เป็นเวลา
ยาวนานอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงควรเบื่อหน่าย ควร
คลายกำหนัด ควรหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ฉะนั้น2 ที่สุดเบื้องต้น แห่งสงสาร
จึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร
คือ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้
บ้าง
วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ฯลฯ พันชาติเท่านี้ ฯลฯ แสนชาติเท่านี้
ฯลฯ โกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยปีเท่านี้ ฯลฯ พันปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนปีเท่านี้ ฯลฯ โกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิปีเท่านี้ฯลฯ พันโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ กัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยกัปเท่านี้ ฯลฯ พันกัปเท่านี้ ฯลฯ
แสนกัปเท่านี้ ฯลฯ โกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิกัปเท่านี้
ฯลฯ แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องปลาย
แห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ เหล่าสัตว์ผู้
ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วใน
สงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้
นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง

เชิงอรรถ :
1 เต็มป่าช้า ในที่นี้หมายถึงซากศพของเหล่าสัตว์ที่ตายแล้ว มีมากมาย ทับถมกันอยู่ในป่าช้า หรือเต็ม
แผ่นดิน (สํ.นิ.อ. 2/124/176, ขุ.จู.อ. 61/36)
2 สํ.นิ. 16/124/172

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :237 }