เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 8. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลก พระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นตัณหาชื่อว่าวิสัตติกาในโลกแล้ว รวมความว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้น เป็นสงบทุกเมื่อ
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เหมกมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เหมกมาณวปัญหานิทเทสที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :225 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 9. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
9. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของโตเทยยมาณพ
[57] (ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร (1)
คำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ
ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย ไม่อยู่ครอง ในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่
อยู่ในบุคคลใด
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า โตเทยยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ผู้ใดข้าม คือ ข้าม
ขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า และ
บุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1095-1098/543-544

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :226 }