เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 8. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
รูปสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญญา ... คันธสัญญา ...
รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญเจตนา ... คันธสัญเจตนา
... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก
รูปตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททตัณหา ... คันธตัณหา ...
รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททวิตก ... คันธวิตก ... รสวิตก
... โผฏฐัพพวิตก ... ธัมมวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปวิจารเป็นปิยรูป
เป็นสาตรูปในโลก ... สัททวิจาร ... คันธวิจาร ... รสวิจาร ... โผฏฐัพพวิจาร ...
ธัมมวิจาร เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รวมความว่า ในปิยรูปทั้งหลาย
คำว่า เหมกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัด
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อธิบายว่า ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่
ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลส
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ได้แก่ เป็น
เครื่องละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เข้าไปสงบความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ สลัดทิ้งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ระงับความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจ คือ อมตนิพพาน รวมความว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจ
คำว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน อธิบายว่า นิพพานบท (ทางนิพพาน) คือ
ตาณบท (ทางปกป้อง) เลณบท (ทางหลีกเร้น) ปรายนบท (ทางไปสู่จุดหมาย)
อภยบท (ทางไม่มีภัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :222 }