เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ
เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว (6)
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม อธิบายว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราหุ้มห่อไว้ โอบล้อม คือห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม
บดบังไว้แล้ว เรากล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศว่า สมณพราหมณ์ผู้ละชาติ ชราและมรณะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม
คำว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้
รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า นรชนเหล่าใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็นทุกอย่าง ละ
ความหมดจดแห่งเสียงที่ได้ยินทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งศีลทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งวัตรทุกอย่าง
นรชนใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความหมดจดแห่งศีลวัตรทุกอย่าง รวมความว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้
เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
คำว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง อธิบายว่า ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะมงคลที่เล่าลือกันหลากหลาย
รูปแบบ รวมความว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :209 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ตัณหา ในคำว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมด
อาสวะ เรากล่าวว่า นรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา

ว่าด้วยปริญญา 3
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา 3 คือ
1. ญาตปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก)
2. ตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา)
3. ปหานปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นละ)
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์กำหนดรู้ตัณหา คือ รู้ เห็นว่า “นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา
นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธัมมตัณหา” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดุจหัวฝี ...
เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีตัณหาอีก สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในตัณหาเสีย ตัณหานั้นเธอ
ทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้ว จักถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา 3 อย่าง
เหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :210 }