เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า แต่เรากล่าวว่าพวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้ อธิบายว่า เรา
กล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้
ล่วงเลยชาติชราและมรณะไปไม่ได้ ได้แก่ ออกจากชาติชราและมรณะไม่ได้ คือ
สลัดออกไม่ได้ ก้าวพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยจากชาติชราและมรณะไม่ได้
ได้แก่ หมุนเวียนอยู่ภายในชาติ ชราและมรณะ หมุนเวียนอยู่ภายในทางแห่งสงสาร
ไปตามชาติ ถูกชราติดตาม ถูกพยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่
หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้
ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
สมณพราหมณ์พวกนั้น
แม้ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง
แต่เรากล่าวว่า พวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้
[50] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :205 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการ
ทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก นี้
เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยิน
บ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมด
จดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว
คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะศีลบ้าง เพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อม
กล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวมความว่า
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :206 }