เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง
ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะ
ศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ได้แก่ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวม
ความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
คำว่า แม้...ก็จริง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติตน
เคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท ทำบท
ให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า
แม้ ... ก็จริง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า พวกนั้น ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ใน... นั้น ได้แก่ ในหลักการของตน คือ ในความถูกใจ ความพอใจ
ในลัทธิของตน
คำว่า เคร่งครัด ได้แก่ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรแล้ว
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติ
ตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :204 }