เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน)
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ อุปสีวมาณพนั่งประคองอัญชลี นมัสการ
พระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็น
ศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อุปสีวมาณวปัญหานิทเทสที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 7. นันทมาณวปัญหานิทเทส
7. นันทมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของนันทมาณพ
[46] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ
หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี (1)
คำว่า มีอยู่ ในคำว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก อธิบายว่า มีอยู่ คือปรากฏ
มี หาได้
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก
คำว่า มุนีทั้งหลาย ได้แก่ อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส เรียกชื่อว่ามุนี
(ชนทั้งหลายเข้าใจกันว่า มุนีทั้งหลายในโลกเป็นเทพ แต่เทพเหล่านั้นหาใช่มุนีไม่)
รวมความว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ชนทั้งหลาย ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวว่า ...คำกล่าวนี้นั้นเป็น
อย่างไร ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและ
มนุษย์
คำว่า ย่อมกล่าว ได้แก่ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
คำว่า คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร เป็นคำทูลถามด้วยความสงสัย เป็นคำถาม
ด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม 2 แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1084-1090/540-542

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :195 }