เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[44] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (7)
คำว่า มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี อธิบายว่า มุนีนั้นถึงความ
สลายไปแล้ว หรือว่าไม่มี คือ มุนีนั้นดับไปแล้ว สูญไปแล้ว หายไปแล้ว รวมความว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
คำว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย เพราะมีความแน่แท้ อธิบายว่า หรือว่า เที่ยง
คือ มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ได้แก่ พึงดำรงอยู่อย่างนั้น
เสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้ ในพรหมโลกนั้น รวมความว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย
เพราะมีความแน่แท้
คำว่า ปัญหานั้น ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหา
นั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม ปัญหา
ที่ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ มุนีก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี1
คำว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอก คือ โปรดแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า พระองค์ผู้เป็น
พระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะพระองค์
ทรงทราบชัดแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 21/127-129

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :191 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
แจ่มแจ้งแล้วรวมความว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[45] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน) (8)
คำว่า มุนีผู้ถึงความสลายไปย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ อธิบายว่า มุนี
ผู้ถึงความสลายไป คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมไม่มี
ประมาณ แห่งรูป ไม่มีประมาณแห่งเวทนา ไม่มีประมาณแห่งสัญญา ไม่มี
ประมาณแห่งสังขาร ไม่มีประมาณแห่งวิญญาณ คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิด
ขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อม
ไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :192 }