เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า สติ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะ ฯลฯ
สัมมาสติ1 นี้ตรัสเรียกว่า มีสติ
พราหมณ์นั้นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยสตินี้ พราหมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ รวมความว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่
ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น เธออาศัย คือ เข้าไปอาศัยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติที่มีความหมายว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ทำให้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง
จงข้าม คือ จงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสคือกาโมฆะ ภโวฆะ
ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะให้ได้ รวมความว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
คำว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม2

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 4/54-55
2 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :181 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละกามทั้งหลาย อธิบายว่า กำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม รวมความว่า ละกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า วิจิกิจฉาตรัสเรียกว่า
ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติด
ขัดในใจเห็นปานนี้1 บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่
เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระจากความสงสัยอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้นจากความ
สงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
มีใจเป็นอิสระจากเดรัจฉานกถา2 32 ประการอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้น
จากความสงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง รวมความว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้
งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
คำว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ทั้งคืน ได้แก่ ตลอดคืน
คำว่า ทั้งวัน ได้แก่ ตลอดวัน อธิบายว่า เธอจงเห็น เพ่งพิจารณา คือ
แลเห็น มองเห็น เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งความสิ้นตัณหา คือ ความสิ้นราคะ
สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นการถือกำเนิด สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร
สิ้นวัฏฏะ ตลอดกลางคืนและกลางวันเถิด รวมความว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา
ทั้งคืนทั้งวัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 32/164
2 เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากัน
หลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม (ที.สี.(แปล) 9/17/7, ขุ.ม.(แปล) 29/157/439)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :182 }