เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักขุ1
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
คำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว ในคำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึง
ข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ได้แก่ บุคคล หรือธรรม ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว
คำว่า พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น
ก้างล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบ
ทูลว่า
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม.(แปล) 29/156/431, ขุ.ป. 31/121/136-137

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[39] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย
เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน (2)
คำว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า
พราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนสมาบัติอยู่โดยปกติ ไม่รู้ที่อาศัยว่า “สมาบัตินี้
เป็นที่อาศัยของเรา” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสบอกที่อาศัยและทางออกที่สูงขึ้นไปแก่
พราหมณ์นั้น พระองค์ตรัสบอกว่า เธอจงมีสติเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว เพ่งพิจารณา คือ แลเห็น ตรวจดู
เพ่งพินิจ พิจารณาจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เป็นทุกข์ ฯลฯ เป็นโรค ฯลฯ เป็นดุจหัวฝี ฯลฯ เป็นดุจลูกศร ฯลฯ
เป็นของลำบาก ฯลฯ เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) ฯลฯ
เป็นของทรุดโทรม ฯลฯ เป็นเสนียด ฯลฯ เป็นอุปัททวะ ฯลฯ เป็นภัย ฯลฯ
เป็นอุปสรรค ฯลฯ เป็นของหวั่นไหว ฯลฯ เป็นของผุพัง ฯลฯ เป็นของไม่
ยั่งยืน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่ต้านทาน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่หลีกเร้น ฯลฯ เป็น
ของไม่มีที่พึ่ง ฯลฯ เป็นของไม่มีที่อาศัย ฯลฯ เป็นของว่าง ฯลฯ เป็นของเปล่า
ฯลฯ เป็นของสูญ ฯลฯ เป็นอนัตตา ฯลฯ เป็นของมีโทษ ฯลฯ เป็นของแปร
ผันไปเป็นธรรมดา ฯลฯ เป็นของไม่มีแก่นสาร ฯลฯ เป็นเหตุแห่งความลำบาก
ฯลฯ เป็นความเจริญ ฯลฯ เป็นของปราศจากความเจริญ ฯลฯ เป็นของมีอาสวะ
ฯลฯ เป็นดุจเพชฌฆาต ฯลฯ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ เป็นเหยื่อ
แห่งมาร ฯลฯ มีชาติเป็นธรรมดา ฯลฯ มีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ มีพยาธิเป็น
ธรรมดา ฯลฯ มีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็น
ธรรมดา ฯลฯ เป็นเหตุเกิดทุกข์ ฯลฯ ตั้งอยู่ไม่ได้ ฯลฯ หาความแช่มชื่นไม่ได้
ฯลฯ เป็นโทษ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :180 }