เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักขุ1
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
คำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว ในคำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึง
ข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ได้แก่ บุคคล หรือธรรม ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว
คำว่า พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น
ก้างล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบ
ทูลว่า
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม.(แปล) 29/156/431, ขุ.ป. 31/121/136-137

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :179 }