เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
พละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลาย
อย่างเหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ
คำว่า อุปสีวะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่ได้อาศัย ในคำว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่
สามารถข้าม ได้แก่ ไม่ได้อาศัยบุคคล หรือธรรมเลย
คำว่า จึงไม่สามารถ ได้แก่ ไม่กล้า ไม่อาจ เป็นผู้ไม่สามารถ
คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลส
ใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ
หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่สามารถข้าม
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
อารมณ์ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ อารมณ์เครื่องยึดเหนี่ยว ที่อาศัย
ที่เข้าไปอาศัย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ เรียก
ว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนิน
ไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :178 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักขุ1
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
คำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว ในคำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึง
ข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ได้แก่ บุคคล หรือธรรม ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว
คำว่า พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น
ก้างล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบ
ทูลว่า
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม.(แปล) 29/156/431, ขุ.ป. 31/121/136-137

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :179 }