เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โธตกมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โธตกมาณวปัญหานิทเทสที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :176 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของอุปสีวมาณพ
[38] (ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ (1)
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วง
กิเลสอันยิ่งใหญ่ได้ อธิบายว่า ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรือธรรมใดข้าม ข้ามไป
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ข้าพระองค์ไม่มีบุคคล หรือธรรมนั้นเป็นเพื่อน

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าสักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้
สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1076-1083/538-540

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :177 }