เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ที่ชื่อว่า
วิสัตติกาในโลกนี้ บุคคลผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วง
เลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น
ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
[37] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย (8)
คำว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้เฉพาะ
แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โธตกะ

ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :174 }