เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
[33] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้
แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรม1อันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้ (4)
คำว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อธิบายว่า เราไม่อาจเปลื้อง ปลดเปลื้อง
ปล่อย ปลดปล่อย ถอนเธอขึ้น ได้แก่ ให้เธอถอนออก ให้ขึ้นจากลูกศรคือ
ความสงสัยได้ รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราไม่อาจ คือ ไม่สามารถ ไม่อุตสาหะ ไม่พยายาม ไม่ทำ
ความอุตสาหะ ไม่ทำความหมั่นเพียร ไม่ทำความพยายาม ไม่ทำความทรงจำ
ไม่ทำความเป็นผู้กล้า ได้แก่ ไม่ให้ฉันทะเกิด คือ ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่
ให้บังเกิดขึ้น เพื่อแสดงธรรม(ปลดเปลื้อง) บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ เกียจคร้าน
ละความเพียร ไม่ปฏิบัติ รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะ
พึงหลุดพ้นได้ สัตว์เหล่านั้นเมื่อปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะสม ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก
ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมด้วยตนเอง ก็จะพึงหลุดพ้น
ได้เอง ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น
ของบุรุษของตนเองเท่านั้น รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ข้อที่บุคคลซึ่งตนเองก็จมดิ่งอยู่
จักฉุดผู้อื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ เป็นไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลผู้มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม
ยังมิได้ดับกิเลสด้วยตนเอง จักฝึกฝน อบรมผู้อื่น ทำผู้อื่นให้ดับกิเลส เป็นไปไม่ได้
เลย”2รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้องอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1071/538 เป็น อภิชานมาโน แปลว่ารู้แจ้ง
2 ม.มู. 12/87/60

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :165 }