เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ

ว่าด้วยความสงสัย
วิจิกิจฉา เรียกว่า ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความ
สงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเห็นเป็น 2 ฝ่าย 2 ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความ
ไม่ตกลงใจ ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้1 ความหวาดหวั่นแห่งจิต
ความติดขัดในใจเห็นปานนี้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จาก
ความสงสัยทั้งหลายเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดเปลื้องข้าพระองค์ โปรด
ปลดเปลื้องข้าพระองค์ คือ โปรดปล่อย ปลดปล่อย ถอน ฉุดรั้งข้าพระองค์ ได้แก่
ทรงให้ข้าพระองค์ออกจากลูกศรคือความสงสัยเถิด รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด ด้วย
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้ไม่มีเครื่องกังวล
เป็นพราหมณ์ เสด็จจาริกอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้อง
ข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความใน อภิ.สงฺ (แปล) 34/425/122

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :164 }