เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่
ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ
พึงประพฤติ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ
รวมความว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โธตกะ)
ถ้าเช่นนั้น เธอผู้มีปัญญารักษาตน
มีสติ จงทำความเพียรในที่นี้แล
บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน
[32] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้ไม่มีเครื่องกังวล
เป็นพราหมณ์ เสด็จจาริกอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้อง
ข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด (3)

ว่าด้วยเทพ 3
คำว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็น ... ในเทวโลกและมนุษยโลก อธิบายว่า
คำว่า เทวะ ได้แก่ เทพ 3 จำพวก คือ
1. สมมุติเทพ
2. อุบัติเทพ
3. วิสุทธิเทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :160 }