เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ
บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ1 รวมความว่า ผู้มีปัญญา
รักษาตน มีสติ ... ในที่นี้แล
คำว่า บุคคลได้ฟังเสียงจากนี้2แล้ว อธิบายว่า บุคคลได้ฟัง สดับ เรียน
ทรงจำ เข้าไปกำหนดพระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำ
พร่ำสอนของเรา จากนี้ รวมความว่า บุคคลได้ฟังเสียงจากที่นี้แล้ว

ว่าด้วยสิกขา 3
คำว่า พึงศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า
สิกขา 3 คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา3
คำว่า ธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน อธิบายว่า พึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา
ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เพื่อให้ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ
ของตนดับไป ฯลฯ เพื่อความสงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น เพื่อให้ดับ เพื่อสลัดทิ้ง
เพื่อความระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
สิกขา 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/70-71
2 จากนี้ หมายถึงจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า (ขุ.จู.อ. 31/28)
3 ดูรายละเอียดข้อ 7/63-64

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :159 }