เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของโธตกมาณพ
[30] (ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง
บุคคลได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเหตุดับกิเลสเพื่อตน (1)

ว่าด้วยการถาม 3
คำว่า ขอทูลถาม ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ได้แก่
การถาม 3 อย่าง คือ
1. การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น
2. การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว
3. การถามเพื่อตัดความสงสัย ฯลฯ
การถามอีก 3 อย่าง ฯลฯ
3 การถามถึงนิพพาน2
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ
องค์ คือ ทูลขอพระองค์ ทูลอัญเชิญให้ตรัส ทูลให้ทรงประกาศว่า ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1068-1075/537-538
2 ดูรายละเอียดข้อ 12/84-91,18/110-113

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 5. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า โธตกะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ2 รวมความว่า
ท่านโธตกะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับ
ฟังพระวาจาของพระองค์อย่างยิ่ง อธิบายว่า ข้าพระองค์มุ่งหวัง มุ่งหวังอย่างยิ่ง
คือ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังพระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง
เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระองค์
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อ
ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่3 รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์มุ่งหวังจะรับฟังพระวาจาของพระองค์

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
2 เทียบกับความในข้อ 9/73
3 ดูรายละเอียดข้อ 23/133-135 และ ขุ.ม. (แปล) 29/150/410

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :156 }