เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าม ในคำว่า เป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมด
ความสงสัยแล้ว อธิบายว่า บุคคลข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และทางแห่งสงสารได้แล้ว คือ บุคคล
นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกลได้แล้ว ถึง
ทิศ(นิพพาน)แล้ว ถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว รักษาพรหมจรรย์ได้แล้ว ถึงทิฏฐิอัน
สูงสุด1แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว ทำ
นิโรธให้แจ้งได้แล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว
ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้
แจ้งได้แล้ว
บุคคลนั้นถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ถมคูคือกรรมได้แล้ว ถอนเสา
ระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ เป็นผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ละ
องค์ 5 (แห่งนิวรณ์)ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ 6 มีธรรมเครื่องรักษาอย่าง
เอก(คือสติ) มีอปัสเสนธรรม2 4 อย่าง มีปัจเจกสัจจะ3อันบรรเทาได้แล้ว มี
การแสวงหาอันสละได้โดยชอบ ไม่บกพร่อง มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอัน
ระงับได้แล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่
จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงการบรรลุปรมัตถธรรมแล้ว
บุคคลนั้น มิต้องก่อผลกรรม มิต้องกำจัด กำจัดได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องละกิเลส
มิต้องถือมั่น ละได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องเย็บ(ด้วยตัณหา) มิต้องยก(ตนด้วยมานะ)

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิอันสูงสุด หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ม.อ. 6/82)
2 อปัสเสนธรรม คือ ธรรมดุจพนักพิง หรือธรรมพึ่งอาศัย มี 4 อย่างคือ
1. สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัย 4
2. สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้น เช่น คนพาลหรือสัตว์ร้าย
3. สงฺขาเยกํ วิโนเทติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา เช่นกามวิตก
4. สงฺขาเยกํ ปชหติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วละเสีย (ที.ปา. 11/308/200, ขุ.ม.อ. 6/86)
3 ปัจเจกสัจจะ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยึดถือ เช่น ถือว่า ทรรศนะนี้
เท่านั้นจริง ทรรศนะนี้เท่านั้นจริง (ขุ.ม.อ. 6/86)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :149 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
เย็บเรียบร้อยแล้วดำรงตนอยู่ มิต้องดับ (ไฟคือกิเลส) มิต้องก่อ ดับได้แล้ว
ดำรงตนอยู่ ชื่อว่าดำรงตนอยู่ได้เพราะประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ... ด้วย
สมาธิขันธ์ ... ด้วยปัญญาขันธ์ ... ด้วยวิมุตติขันธ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยวิมุตติ
ญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ แทงตลอดสัจจะแล้ว ดำรงตนอยู่โดยการก้าวล่วง
ตัณหาอันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ดำรงตนอยู่โดยการดับไฟคือกิเลส ดำรงตนอยู่โดย
ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ดำรงตนอยู่โดยการสมาทานธรรมขั้นสุดยอด ดำรงตนอยู่
โดยการเสพวิมุตติ ดำรงตนอยู่ด้วยเมตตาอันบริสุทธิ์ ... ด้วยกรุณา... ด้วย
มุทิตาอันบริสุทธิ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงตนอยู่ด้วยความ
บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ดำรงตนอยู่ด้วยความบริสุทธิ์เพราะไม่มีตัณหาทิฏฐิและมานะ
ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้สันโดษ ดำรงตน
อยู่ในขันธ์สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในธาตุสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในอายตนะสุดท้าย
ดำรงตนอยู่ในคติสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในการถือกำเนิดสุดท้าย ดำรงตนอยู่ใน
ปฏิสนธิสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในสงสารสุดท้าย ดำรง
ตนอยู่ในวัฏฏะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในประชุมแห่งขันธ์
ขั้นสุดท้าย ทรงไว้ซึ่งร่างกายขั้นสุดท้าย เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นภพสุดท้าย
มีประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก1
คำว่า และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่
คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
บุคคลนั้นถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม. (แปล) 29/6/27

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :150 }