เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค 4 ตรัสเรียกว่า เวท ฯลฯ
พราหมณ์นั้นก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท
คำว่า ที่เธอรู้จัก ได้แก่ที่เธอพึงรู้จัก คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด
รวมความว่า บุคคลที่เธอรู้จักว่าเป็นพราหมณ์ผู้จบเวท
คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ ได้แก่
เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ
เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้
ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีเครื่องกังวล
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ 2 คือ (1) กรรมภพ (2) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
ฯลฯ นี้ชื่อว่ากรรมภพ ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ2
คำว่า ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่อง
กังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก สลัดออก หลุดพ้น
ไม่เกี่ยวข้องในกามภพ มีใจเป็นอิสระ(จากเครื่องกังวล)อยู่ รวมความว่า ไม่มี
เครื่องกังวล ไม่ข้องในกามภพ
คำว่า โดยแท้ ในคำว่า ข้ามโอฆะได้แล้วโดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว
ฯลฯ คำว่า โดยแท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย รวมความว่า ข้าม
โอฆะได้แล้วโดยแท้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67
2 ดูรายละเอียดข้อ 24/138

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :148 }