เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ชื่อว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระ
องค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ
พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อธิบายว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสบอกไว้ดีแล้ว แสดงไว้
ดีแล้ว บัญญัติไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว เปิดเผยไว้ดีแล้ว จำแนกไว้ดีแล้ว ทำให้
ง่ายไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว รวมความว่า ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์
และอภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อุปธิ การละอุปธิ ความเข้าไปสงบอุปธิ ความสลัด
ทิ้งอุปธิ ความระงับอุปธิ ชื่อว่าอมตนิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า เป็นแน่ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่ เป็น
คำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง
เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 อย่าง เป็นคำกล่าว
โดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า เป็นแน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ทรงละทุกข์ได้แล้ว อธิบายว่า ทรงละ คือ ทรงละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว-
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
คำว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะธรรมนี้
พระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
รวมความว่า เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึง
กราบทูลว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[27] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน
ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมาพบพระผู้มีพระภาคผู้นาคะ
ขอนมัสการพระองค์ (โดยหวังว่า)พระผู้มีพระภาค
พึงตรัสสอนข้าพระองค์ไม่หยุดหย่อนบ้าง (10)
คำว่า ชนแม้เหล่านั้น ในคำว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ได้แก่
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
คำว่า พึงละทุกข์ได้ อธิบายว่า พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกข-
โทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่
คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่
หยุดหย่อน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า พระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์ทรง
ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี1
คำว่า ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน ได้แก่ ตรัสสอนไม่หยุดหย่อน คือ ตรัสสอน
โดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนือง ๆ ตรัสสอนบ่อย ๆ คือ พร่ำสอน รวมความว่า
พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดไม่หยุดหย่อน

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 21/127-129

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :144 }