เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึดถือว่า
เป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ ละ สละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีก ซึ่งความยึดถือว่าของเรา รวมความว่า ภิกษุ ... ละความยึดถือว่า
เป็นของเราแล้ว เที่ยวไปอยู่
คำว่า ชาติ ในคำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอัน
เป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ได้แก่ การเกิด คือเกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์)
การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่
สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ
เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก
ของผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์
กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูก
ทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูก
เหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ
เสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสีย
หายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้
คำว่า รู้แจ้ง ได้แก่ มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :141 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันเป็นทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ฯลฯ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์
คำว่า รู้แจ้ง ... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ใน
อัตภาพนี้ได้แน่นอน อธิบายว่า มีความรู้แจ้ง คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ในโลกนี้เอง รวมความว่า รู้แจ้ง
... พึงละชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว
เที่ยวไปอยู่ พึงละชาติ ชรา โสกะและปริเทวะ
อันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แน่นอน
[26] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่
เพราะธรรมนี้ พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (9)
คำว่า นี้ ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระวาจานี้ของพระองค์ผู้ทรงแสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ พระวาจา คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอน
คำว่า ชอบใจ ได้แก่ พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี
ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :142 }