เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง
เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง นิรยโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัสเรียกว่า
ชั้นกลาง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่า ชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไปตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมาตรัส
เรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลางตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและ
ชั้นกลาง
คำว่า ในธรรมเหล่านี้ ในคำว่า เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือ
มั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ในธรรม
ที่เราบอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว
ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน คือ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น 2 อย่าง คือ
1. ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา
2. ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :137 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ ฯลฯ ด้วยส่วนแห่งตัณหาเท่าใด ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า เธอจงบรรเทา... และวิญญาณ อธิบายว่า วิญญาณที่สหรคตด้วย
ปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วย
อาเนญชาภิสังขาร เธอจงสลัด บรรเทา ถอน ถอนเสีย ละ ละทิ้ง ละให้หมด
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นและ
วิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขารในธรรมเหล่านี้ รวมความว่า เธอจงบรรเทาความ
เพลิดเพลิน ความถือมั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย
คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ 2 คือ (1) กรรมภพ (2) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
กรรมภพ เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่ากรรมภพ
ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เป็นอย่างไร
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า
ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความเพลิดเพลิน ความถือมั่นวิญญาณที่สหรคตด้วยอภิสังขาร
กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึงตั้งอยู่ในกรรมภพ ไม่พึงตั้งอยู่ คือ
ไม่พึงดำรงอยู่ในภพใหม่ อันมีในปฏิสนธิ รวมความว่า เธอจงบรรเทา...และ
วิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :138 }