เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ ที่ชื่อ
ว่าวิสัตติกาในโลก บุคคลเป็นผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้นที่บุคคลรู้ชัดแล้ว
มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
[24] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู)
เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือมั่น
และวิญญาณในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ (7)
คำว่า เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ คือ ทราบ รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่ง
คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เมตตคู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :136 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง
เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง นิรยโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัสเรียกว่า
ชั้นกลาง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่า ชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไปตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมาตรัส
เรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลางตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำและ
ชั้นกลาง
คำว่า ในธรรมเหล่านี้ ในคำว่า เธอจงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความถือ
มั่นและวิญญาณ ในธรรมเหล่านี้เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ อธิบายว่า ในธรรม
ที่เราบอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว
ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน คือ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น 2 อย่าง คือ
1. ความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา
2. ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :137 }