เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรมที่
เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ในธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้
พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า
เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัยในสมุทัย
ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรคในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธในนิโรธที่ได้
เห็นแล้ว รวมความว่า เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้
ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า
เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวถึงธรรมที่รู้ด้วยตนเอง
ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ๆ มิใช่โดย
การเล่าลือ มิใช่โดยถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก
มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ
ทฤษฎีที่พินิจแล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดธรรม
ใดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่
บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่างแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า
“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ (1) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :131 }