เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ เกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด
การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตว์นั้น ๆ
ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ
เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก ของ
ผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง
ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง
ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ
เสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหาย
อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว
กระทบบ้าง
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะ
ได้อย่างไรหนอ อธิบายว่า นักปราชญ์ทั้งหลายจะข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ล่วงเลยโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไร รวมความว่า นักปราชญ์
ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :126 }